Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

จงบอกประเภทของแรม (RAM) และ รอม (ROM)



1. จงบอกประเภทของแรม (RAM)


แรมโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ


1. Static Random Access Memory ( SRAM )

            
        คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) 

2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )


            คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก 


2.1)  FPM DRAM
         เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า



2.2)  EDO DRAM

        เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้

2.3)  SDRAM

       เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ 6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz

                     


                       
 2.4)  RAMBUS


       พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา
                        
                                    
          RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป
           

        แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS แผงจะรับ-ส่งข้อมูลทีละ 16 บิต โดยใช้ความถี่ 800MHz ซึ่งเกิดจากความถี่ 400 MHz แต่ทำงานแบบ DDR (Double Data Rate) ทำให้ได้ bandwidth ถึง 1.6GB/Sec. และจะมี bandwidth สูงถึง 6.4 GB/Sec. ถ้าใช้แผงวงจรย่อย 4 แผง





2.  จงบอกประเภทของรอม(ROM)

ROM (Read-OnlyMemory)
                คือหน่วยความจำชนิดหนึ่ง ที่มีโปรแกรม หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้โดยตรง ซึ่งโปรแกรม หรือข้อมูลนั้นจะไม่สูญหายไป แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายไฟเลี้ยงให้แก่ระบบ ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ROM จะสามารถอ่านออกมาได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลเข้าไปได้ เว้นแต่จะใช้วิธีการพิเศษซึ่งขึ้นกับชนิดของ ROM
        ชนิดของROM
          

•  Manual ROM
ROM (READ-ONLY MEMORY)
                 
           ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ โดย ROM จะมีการใช้ technology ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น BIPOLAR, CMOS, NMOS, PMOS
        

 • PROM (Programmable ROM)
  PROM (PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)

               ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ
         

• EPROM (Erasable Programmable ROM)
  EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)

         ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ในEPROM ออกก่อน แล้วค่อยเข้าโปรแกรมไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว  IC โดยผ่าน  ทางกระจกใส  ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 510 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด   (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่
         

• EAROM (Electrically Alterable ROM)
   EAROM (ELECTRICALLY ALTERABLE READ-ONLY MEMORY)

  EAROM หรืออีกชื่อหนึ่งว่า  EEPROM   (ELECTRICAL ERASABLE EPROM)  เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM
         การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น  EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM) จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน  EPROM  แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ EPROM
        

          โดยทั่วไปจะใช้ EPROM เพราะเราสามารถหามาใช้  และทดลองได้ง่าย มีราคาถูก วงจรต่อง่าย  ไม่ยุ่งยาก   และสามารถเปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้ นอกจากระบบ ที่ทำเป็นการค้าจำนวนมาก จึงจะใช้ ROM ประเภทโปรแกรมสำเร็จ แสดงให้เห็นส่วนประกอบพื้นฐานของ ROM ซึ่งจะมีสัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ROM และทุกชิปที่อยู่ใน ROM  มักมีการจัดแบ่งแยกหน้าที่เสมอ  เช่น ขาแอดเดรสของ ROM เป็นอินพุต ส่วนขาข้อมูลจะเป็นเอาต์พุต โดยหลักการแล้ว  ขาข้อมูลจะต่อเข้ากับบัสข้อมูลซึ่งเป็นบัส  2 ทาง  ดังนั้นเอาต์พุตของ  ROM ในส่วนขาข้อมูลนี้มักจะเป็นลอจิก 3 สถานะ ซึ่งถ้าไม่ใช้ก็จะอยู่ในสถานะ ที่มีอิมพีแดนซ์สูง (High Impedence)
            

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Google Translate



Google Translate คือ(หมายถึง) โปรแกรมแปลภาษาโดยอ้างอิงสถิติในการแปล (ซึ่งสามารถแปลได้แบบข้อความและทั้งเว็บ) โดยปกติแล้วโปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้แนวทางอ้างอิงกฎ และต้องใช้การนิยามคำศัพท์และไวยากรณ์จำนวนมากในการแปล แต่ทีมงาน Google ได้ทำการเพิ่มข้อมูลจำนวนมากให้กับโปรแกรมทั้งภาษาเดียวกันและภาษาปลายทาง และเพิ่มข้อความตัวอย่างการแปลที่แปลโดยมนุษย์ ซึ่งทางทีมงาน Google ได้ใช้เทคนิคเชิงสถิติ ให้โปรแกรมอ้างอิงหลักการ กลุ่มคำ ที่มนุษย์ได้ทำการแปลไว้ โดยทีมงาน Google
ทั้ง นี้หากต้องการแปลแบบพจนานุกรมก็สามารถทำ ได้ โดยเลือกที่ Dictionary แต่ขณะนี้รองรับเพียง 7 ภาษาคือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี เกาหลี รัสเซีย และสเปน เท่านั้นปัจจุบัน Google Translate ได้รองรับภาษาถึง 22 ภาษาทั่วโลก คือภาษา ภาษาอาหรับ , ภาษาบัลกาเรีย , ภาษาจีน , ภาษาโครเอเชีย , ภาษาเช็ก , ภาษาเดนมาร์ก , ภาษาดัตช์ , ภาษาฟินแลนด์ , ภาษาฝรั่งเศส , ภาษาเยอรมัน , ภาษากรีก , ภาษาฮินดู , ภาษาอิตาลี , ภาษาเกาหลี , ภาษาญี่ปุ่น , ภาษานอร์เวย์ , ภาษาโปแลนด์ , ภาษาโรมาเนีย , ภาษารัสเซีย , ภาษาสเปน , ภาษาสวีเดน , ภาษาโปรตุเกส และกำลังจะรองรับภาษาไทยในเดือนกุมภาพันธ์นี้แน่นอน

ขั้นตอนการแปลคำศัพท์
1. หากต้องการแปล ประโยคยาวๆ เราขอแนะนำให้ ลองทำการแปลที่ละประโยค หรือทีละย่อหน้าก่อน
2.  หากต้องการแปลไทยเป็นอังกฤษ พยายามตัดคำฟุ่มเฟือยออกไป เช่นคำว่า จ้ะ นะ ครับ จัง เพราะบางครั้ง Google Translate จะรวมคำเหล่านี้เข้ามาในการแปล ทำให้โอกาสในการแปลนั้นผิดพลาดสูง
3.  หากแปลไทยเป็นอังกฤษ หาคำหรือประโยคที่ออกมานั้นดูไม่ค่อยเข้าที ลองเปลี่ยนคำที่ใกล้เคียง แล้วลองเปลี่ยนดูจนได้คำที่เหมาะสม
4.  หากต้องการแปลคำศัพท์หลายๆ คำ ให้ทำการพิมพ์คำที่ต้องการแปล 1 คำ ต่อ 1 บรรทัด การแปลจะให้ผลที่ดีกว่า พิมพ์หลายๆคำ ลงในบรรทัดเดียวกัน
5.  อย่าลืมนึกถึง คำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์ในวงการ หรือคำแสลงใดๆ ก็ตาม เพราะบางที Google Translate อาจให้ความหมายที่ไปคนละทางเลยก็ได้

ข้อดี คือ
-
มันทำให้กำแพงที่กั้นระหว่างภาษาลดลง คนไทย เข้าเว็บภาษาอื่นได้ทุกภาษา โดยการ
แปลกลับเป็นไทย โดยไม่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ เช่น Korean > Thai, Chinese >Thaiและแน่นอนว่า  เด็กมัธยม เด็กมหาลัย รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองบางคน ที่บ้าดาราเกาหลี จะได้ติดตามดาราตัวเองได้อย่างใกล้ชิด

- Paper
หรือ บทความภาษาอังกฤษอ่านยากๆ ใช้ศัพท์หรูๆ ยิ่งกว่าข้อสอบ GRE อย่างใน Times หรือ พวก The Economist  ง่ายขึ้น ด้วย Google Translate
ข้อเสีย คือ
-
คุณไม่สามารถอาศัยในเรื่อง privacy เนื่องจากภาษา ในการสื่อสารในเว็บบอร์ดเป็นภาษาไทย ในการพาดพิงคนต่างประเทศได้แล้วล่ะ

-
น่าจะทำให้พัฒนาการทางด้านภาษาอังกฤษของเด็กไทย ลดลงในระยะยาว แต่ก็ไม่แน่ เพราะบางทีอาจจะพบว่า English อ่านจะอ่านง่ายกว่า Google Translate's Thai ก็ว่าได้


วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

10. การบีบอัดข้อมูลแบบ MPGE คืออะไร มีมาตรฐานใดบ้างที่รองรับ

MPEG คืออะไร

MPEG ย่อมาจาก Motion Picture Experts Group ซึ่ง MPEG เป็นกลุ่มของคณะกรรมการที่ทำงานภายใต้องค์การมาตรฐาน ISO ( International Standards Organization ) เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับการบีบอัดข้อมูลวิดีโอและออดิโอแบบดิจิตอล ( digital data compression ) ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานสำหรับการกำหนดรูปแบบของสายข้อมูลระดับบิตของวิดีโอและออดิโอ และรวมไปถึงวิธีการขยายกลับข้อมูลที่ถูกบีบอัด ส่วนวิธีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอและออดิโอแบบดิจิตอลนั้น MPEG ก็มีการกำหนดมาตรฐานเอาไว้เช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติบริษัทที่ทำกิจการด้านนี้หรือโปรแกรมเมอร์ที่สนใจ สามารถที่จะสร้างอัลกอริทึม การบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่แตกต่างไปจากมาตรฐาน MPEG ได้เช่นกัน
สำหรับในปัจจุบัน MPEG ได้มีการพัฒนามาเป็นมาตรฐาน MPEG Layer3 ซึ่งเป็นอัลกอริทึมการบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่ประสิทธิภาพมาก โดยที่การบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่ระดับความถี่ 44.1 KHz จะสามารถบีบอัดข้อมูลเสียงให้มีขนาดเล็กลงกว่าข้อมูลเสียงต้นแบบมากถึง 12 เท่า โดยที่ไม่มีการสูญเสียคุณภาพของเสียงแต่ประการใด ซึ่งโปรแกรมที่สนับสนุน MPEG Layer3 ในปัจจุบันผู้อ่านก็สามารถทำการดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต

วารสาร ไมโครคอมพิวเตอร์ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2541
       Last update: 14/07/1999
         http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/mpeg.htm

มาตรฐานที่รองรับ
MPEG - 1 เป็นมาตรฐานสำหรับการบีบอัดภาพและเสียงแบบสูญเสียความละเอียดเล็กน้อย โดยมาตรฐานนี้ถูกออกแบบมาเพื่อบีบอัดข้อมูลที่เป็นวิดีโอดิจิตอล และข้อมูลที่เป็นเสียงลงให้เหลือ 1.5 Mbit / s (บีบอัดในอัตราส่วน 26:1 และ 6:1 ตามลำดับ) โดยไม่ทำให้สูญเสียคุณภาพหลังการบีบอัดมากเกินไป ซึ่งสื่อที่ใช้มาตรฐานนี้ ได้แก่ Video-CD ,ทีวีผ่านดาวเทียม เป็นต้น   ทุกวันนี้มาตรฐาน MPEG-1
เป็นมาตรฐานการบีบอัดภาพและเสียงที่ได้รับความนิยมมาก และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยมาตรฐานนี้ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีต่างๆ เป็นจำนวนมาก อย่างเช่นมาตรฐานของ  การบีบอัดไฟล์เสียงมาตรฐานหนึ่งที่ทุกคนรู้จักกันดี นั่นคือ MP3 ก็เป็นส่วนหนึ่งในหลายๆ ส่วนของมาตรฐาน MPEG-1   มาตรฐาน MPEG-1 ถูกเผยแพร่ออกภายใต้ชื่อ ISO / IEC 11172 – การเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหวและเสียง
สำหรับสื่อเก็บข้อมูลดิจิตอลที่มีบิตเรทอยู่ที่ 1.5 Mbit/s ซึ่งมาตรฐานนี้ถูกแบบออกเป็น 5 ส่วน (Parts) ดังนี้
1. Systems (เก็บข้อมูลและทำการ Sync ข้อมูลระหว่างภาพ เสียง และข้อมูลอื่นๆ )
2. Video (บีบอัดข้อมูลวิดีโอ)
3. Audio (บีบอัดข้อมูลเสียง)
4. Conformance testing (ทดสอบความถูกต้องในการดำเนินการ)
5. Reference software (ซอฟท์แวร์ตัวอย่างที่แสดงวิธีการเข้ารหัสและถอดรหัส)




               ส่วนที่ 3 ในมาตรฐาน MPEG – 1 นั้น ถูกกำหนดให้ใช้ชื่อ ISO/IEC-11172-3 โดยในส่วนนี้จะรับผิดชอบในเรื่องของการบีบอัด เข้ารหัสข้อมูลที่เป็นข้อมูลเสียง (Audio) โดยจะทำการลดอัตราข้อมูลใน Audio Stream ด้วยวิธีการละทิ้งความถี่บางช่วง รายละเอียดบางส่วนที่หูมนุษย์ไม่สามารถรับฟังได้ 
MPEG – 1 Audio ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น (Layer) โดยยิ่งลำดับชั้นสูงขึ้นไป ก็จะยิ่งมีกระบวนการประมวลผล เข้ารหัส ที่ซับซ้อนกว่า และมี bit rate ที่ต่ำกว่าชั้นก่อนหน้านี้ โดยในลำดับชั้นที่สูงกว่าจะสามารถรองรับเทคโนโลยีจากชั้นที่ต่ำกว่าได้ เช่น Decoder ของลำดับชั้นที่ 2 (Layer 2) สามารถเล่นไฟล์เสียงจากลำดับชั้นที่ 1 (Layer 1) ได้ แต่ไม่สามารถเล่นไฟล์เสียงจากลำดับชั้นที่ 3 (Layer 3) ได้ ในขณะที่ลำดับชั้นที่ 3 (Layer 3) สามารถเล่นได้ทั้งหมด   การบีบอัดข้อมูลเสียงแบบ MP3 ที่ทุกคนรู้จักกันดีนั้น แท้จริงแล้วก็คือ การบีบอัดใน Layer 3 ของมาตรฐาน MPEG – 3 Part 3 นั่นเอง มิใช่ MPEG – 3 แบบที่หลายคนเข้าใจแต่อย่างใด
           สมาชิกในกลุ่ม
MPEG – 1 Part 2
MPEG – 1 Part 1 
               Part แรกของมาตรฐาน MPEG-1 คือมาตรฐานที่ครอบคลุมในเรื่องของระบบต่างๆ ภายใต้ชื่อ ISO/IEC-11172-1 โดยจะเป็นตัวกำหนดเค้าโครงของข้อมูลและวิธีการเก็บบันทึกข้อมูลวิดีโอ ข้อมูลเสียง และข้อมูลอื่นๆ ที่ถูกเข้ารหัสแล้ว ให้อยู่ในรูปของบิตสตรีมที่เป็นมาตรฐาน สามารถเชื่อมโยงกันได้ระหว่างเนื้อหาข้อมูลที่ต่างกัน โดยรูปแบบของข้อมูลนั้นถูกออกแบบมาสำหรับการเก็บข้อมูลลงในสื่อต่างๆ และการส่งข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ มาตรฐานนี้ไม่มีการตรวจสอบและป้องกันข้อผิดพลาดมากนัก โดยหากมี error เพียงน้อยนิดก็สามารถเห็นข้อบกพร่องของข้อมูลได้อย่างชัดเจน
MPEG – 1 Part 4

             ในส่วนที่ 4 นั้นจะเป็นการตรวจสอบความถูกต้องสอดคล้องของข้อมูล โดยมาตรฐานส่วนนี้ถูกกำหนดให้ใช้ชื่อ ISO/IEC-11172-4 
           วิธีการทดสอบความสอดคล้องกันนั้น จะมีการกำหนด guidelines และ reference bit streams เพื่อใช้ในการทดสอบความสอดคล้องของข้อมูล ตลอดจน bit streams ที่ถูกสร้างโดย encoder
MPEG – 1 Part 5


http://www.itexcite.com/article/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-MPEG%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
             ส่วนที่ 5 นั้น เป็นมาตรฐานของซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการอ้างอิง ถูกกำหนดภายใต้ชื่อ ISO/IEC TR 11172-5 ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็ได้แก่ โค้ดอ้างอิงภาษา C ที่ใช้ในการเข้ารหัส (encoding) การถอดรหัส (decoding) ของข้อมูลวิดีโอ และ ข้อมูลเสียง ตลอดจนการมัลติเพลก และการดีมัลติเพลก


1. น.ส รัชดาภรณ์  จิตรณรงค์ ห้อง 2
2. น.ส พรพิมล  หงอสกุล ห้อง 2
3. น.ส สมถวิล  แป้นลาภ ห้อง 2
4. น.ส กมลทิพย์  นุ่มกลาง ห้อง 2
5. น.ส สุนิษา  ตุ้มตระกูล ห้อง 1

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปรับสีภาพด้วยคำสั่ง Curve ใน Photoscape





1. จะใช้คำสั่งในส่วนนี้ อยู่ใน Home ชื่อ Bright,Color คลิ๊กตรงสามเหลี่ยมเล็กๆตรงนี้









2. จะใช้คำสั่งนี้คือ Color Curve, Saturation Curve และ Luminance Curve










3. หน้าต่างของ Curve ก็จะขึ้นมา









3.1  คือ tab ที่เราสามารถเลือกแบบของ Curve ทั้งสามแบบ (Color Curve, Saturation Curve และ Luminance Curve) ซึ่งเหมือนกับที่เราเลือกจากคำสั่งในข้อที่ 3


3.2  คือลักษณะของ Curve ดูรายละเอียด


3.3  คือชาแนลสี


4. ลักษณะของ Curve อันนี้คือแบบธรรมดาไม่ได้มีการปรับแต่งใดๆทั้งสิ้น









5. อันแรกคือโค้งขึ้น  จะทำให้ภาพโดยรวมสว่างขึ้น












6. แบบนี้คือแบบโค้งลงซึ่งจะทำให้ภาพโดยรวมนั้นมืดขึ้น












7. แบบ S-Curve จะทำให้ภาพนั้นมีความต่างสี (contrast) มากขึ้น




8. แบบ S-Curve กลับด้านในแบบที่ 8 ก็จะทำให้ภาพสีไม่สด






9. ถ้าไม่ชอบ curve ที่ปรับให้ทำการกด Initialize เพื่อทำ curve ให้กลับเป็นรูปเดิม





10. Curve ทั้งสามแบบไว้ปรับ Color Curve ปรับสีเป็นหลัก, Saturation Curve ปรับความอิ่มสี เป็นหลัก และ Luminance Curve นั้นปรับความสว่างเป็นหลัก สามารถใช้ทั้งสามอันนี้ในการปรับแต่งภาพ




11. ภาพนี้คือภาพตัวอย่างหลังการปรับแต่ง

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โปรเซสเซอร์

 โปรเซสเซอร์
               ปี 1989 Intel ประกาศตัว 80486 ซึ่งเป็นซีพียูแบบ 32 บิต พร้อมเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ”ไปป์ไลน์” (Pipeline)
ไปป์ไลน์ช่วยให้ซีพียูสามารถเฟ็ตช์คำสั่งเข้ามาทำงานได้หลาย ๆ คำสั่งในเวลาเดียวกันได้ โดยเอ็กซิคิวต์ 
ในแต่ละคำสั่งในแต่ละสัญญาณนาฬิกา (Clockcycle) เรียกการทำงานแบบนี้ว่า “สเกลลาร์(Scalar)ปี 1993 ได้เปิดตัว
ซีพียูในยุคที่ 5 ที่เรียกว่า “Pentium” โดยนำไปป์ไลน์มาใส่ไว้ในซีพียูถึง 2 ตัวทำงานแบบขนานพร้อม ๆ กัน โดยไม่ขึ้นต่อ
กัน ทำให้สามารถเอ็กซิคิวต์ได้ 2 คำสั่งใน 1 สัญญาณนาฬิกาเรียกสถาปัตยกรรมนี้ว่า “ซุปเปอร์สเกลลาร์” (Superscalar)
องค์ประกอบซีพียู

Pipeline
       ไปป์ไลน์ (Pipeline) คือการทำงานแบบคาบเกี่ยวกัน (overlap) โดยการแบ่งซีพียูออกเป็นส่วนย่อย ๆ
แล้วแบ่งงานกันรับผิดชอบเดิมไปป์ไลน์เป็นเทคนิคของสถาปัตยกรรมแบบRISC ต่อมานำมาใช้กับ
สถาปัตยกรรมแบบ CISCแบ่งเป็นภาคหลัก ๆ คือ ภาคเฟ็ตช์คำสั่ง (Instruction Fetch)
ภาคการถอดรหัสคำสั่ง (Instruction Decode)
ภาครับข้อมูล (Get Operands)
ภาคเอ็กซิคิวต์ (Execute)
ภาคเขียนผลลัพธ์ (Write Result)
ขั้นตอนการทำงานของ Pipeline
  ภาคเฟ็ตช์คำสั่ง  หรือ Instruction Fetch ส่วนนี้จะทำหน้าที่รับคำสั่งใหม่ ๆ ทั้งจากหน่วยความจำหลัก 
หรือจาก Instruction Cache เข้ามา
  ภาคถอดรหัสคำสั่ง หรือ Instruction Decode ส่วนนี้จะทำหน้าที่แยกแยะคำสั่งต่าง ๆ ของ  CISC
 ภาครับข้อมูล หรือ Get Operands  ส่วนนี้ทำหน้าที่รับข้อมูลที่จะใช้ในการเอ็กซิคิวต์เข้ามาเก็บ ไว้
 ภาคเอ็กซิคิวต์ หรือ Execute ส่วนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำการเอ็กวิคิวต์ตามคำสั่งและโอเปอแรนด์ที่ได้รับมา
ภาคเขียนผลลัพธ์ หรือ Write Result เมื่อทำการเอ็กซิคิวต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะนำไปเก็บ
ไว้ในรีจิสเตอร์ หรือในแคช  
ขั้นตอนการทำงานของ Pipeline 


ขั้นตอนการทำงานของซีพียู
 
1. การนำคำสั่งหรือข้อมูลเข้ามาภายในตัวซีพียู
2. การจัดเรียงคำสั่งหรือข้อมูลที่นำเข้า
3. การถอดรหัสข้อมูล
4. การควบคุมและการตรวจสอบการทำงาน  
5. การประมวลผลเลขทศนิยม 
6. การประมวลผลทางด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ 
7 . การนำผลลัพธ์ที่คำนวณได้ไปเก็บไว้ที่ Register 
8. การอ่านค่าผลลัพธ์นั้นไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำหลักหรือแรมเพื่อรอการแสดงผล 
  
โครงส้รางของระบบคอมพิวเตอร์(COMPUTERSYSTEMSTRUCTURE)
 ราสามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น 3 ส่วนดังนี้


1. อินพุต - เอาท์พุต ( Input - Output ) เป็นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอกโดย
รับ-ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์

2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ( Central Processing Unit : CPU ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งที่ได้รับมาจากอินพุต

หน่วยประมวลผลกลางเราสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก 2 ส่วนคือ  

หน่วยควบคุม ( control unit ) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ในระบบทั้งหมด
ให้มีการทำหน้าที่ให้ถูกต้อง 
หน่วยคำนวณ ( arithmetic logic unit ) มีหน้าที่ในการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์เช่น บวก ลบ คูณ 
หาร และงานทางด้านตรรกศาสตร์  


การจัดการหน่วยความจำของ OSนั้นมีการใช้มาตรการหรือยุทธวิธีในการจัดการอยู่ 3 ประการ
 

   1. ยุทธวิธีการเฟตซ์ (fetch strategy)
 
   2. ยุทธวิธีการวาง (placement strategy)
 
  3. ยุทธวิธีการแทนที่ (replacement strategy)  

การจัดการโปรเซสเซอร์  

       โปรเซสเซอร์เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งของระบบ ในบางระบบมีโปรเซสเซอร์
อยู่เพียงตัวเดียวคือซีพียู แต่ในบางระบบก็มี โปรเซสเซอร์หลายตัวช่วยซีพียูทำงานเช่น โปรเซสเซอร์
ช่วยงานคำนวณ ( math-coprocessor ) และ โปรเซสเซอร์ควบคุมอินพุต-เอาต์พุต เป็นต้น เนื่องจาก 
โปรเซสเซอร์มีราคาแพงมากเราจึงควรจัดการให้มีการใช้งานโปรเซสเซอร์ ให้คุ้มค่าที่สุด โดยพยายาม
ให้มันทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะสั้น ก็คงต้องกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะยาวด้วย
(longterm scheduler)การทำงานของตัวจัดคิวในระยะยาวมีความแตกต่างกับตัวจัดคิวในระยะสั้นอยู่ใน
บางส่วน การจัดคิวในระยะสั้นเป็นการจัดคิวในระดับโปรเซสและทำหน้าที่คัดเลือกโปรเซสในสถานะ
พร้อมและส่งเข้าไปอยู่ในสถานะรัน ส่วนการจัดคิวในระยะยาวจะเป็นการจัดคิวในระดับ "งาน" 
ไม่ใช่ระดับ "โปรเซส" เมื่อผู้ใช้ส่งงานเข้ามาในระบบ งานเหล่านี้จะเข้าไปรออยู่ในคิวงานเมื่อระบบอยู่ใน
สภาพพร้อมที่จะรับโปรเซสใหม่ได้